การสร้าง สภาวะจิตที่ดีของ “ผู้ป่วยติดเตียง”

548 views 3:16 am 0 Comments May 13, 2022
ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ภาวะผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นอีกหนึ่งในภาวะที่อันตรายอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องด้วยไม่สามารถที่จะใช้ขยับร่างกายได้ด้วยตัวเอง และ ที่สำคัญนั้นในช่วงที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นอีกหนึ่งในช่วงที่มีสภาวะที่จิตใจไม่คงที่ และ  ที่สำคัญนั้นสภาวะจิตใจนั้นค่อนข้างจะติดลบ และ ค่อนข้างที่จะมีสภาวะจิตใจที่มองโลกในแง่ร้ายอย่างมาก ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาดูวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีสภาวะจิตใจที่ดี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยติดเตียง  ที่มีความสำคัญอย่างมากด้วยเช่นกัน  

ผู้ดูแลต้องเตรียมใจ  

ผู้ดูแลนั้นยังต้องมีความเตรียมพร้อมในการดูแลด้วยเช่นกัน เพราะว่าผู้ดุแลนั้นจะต้องแบกความรับผิดชอบ ความกดดัน และ ที่สำคัญตัวผู้ดูแลเองถึงแม้ว่าจะเหนื่อยมากแค่ไหนก็ตาม ก็จะไม่สามารถที่จะแสดงอาการความเหนื่อยออกมาได้อย่างเด็ดขาด จึงเป็นอีกหนึ่งในเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญอย่างมาก ที่ผู้ดูแลนั้นจะต้องทำความเข้าใจ และ เตรียมความพร้อมของสภาพจิตใจ  

พยายามให้กำลังใจผู้ป่วยเสมอ  

สำหรับคนดูแลนั้นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการ ดูแลผู้ป่วยติดเตียง  นั้นคือในเรื่องของ “การให้กำลังใจเสมอ” เพื่อที่ผู้ป่วยนั้นจะมีความรู้สึกถึงการใช้ชีวิตที่ไม่ได้ตัวคนเดียว ยังมีคนที่รัก และ ห่วงใย ที่จะคอยดูแล และทำให้มั่นใจได้ว่าจะทำให้ผู้สูงอายุนั้นจะไม่น้อยใจ หรือ รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่จะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีสภาวะจิตใจที่ดีมากยิ่งขึ้น  

การทำความเข้าใจสภาพที่เป็นอยู่  

ผู้ดูแลนั้นเมื่อถึงเวลาสักระยะหนึ่งแล้วในเรื่องของการพูดให้ผู้ป่วยนั้นได้ทำความเข้าใจเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากด้วยเช่นกัน โดยจะต้องหลีกเลี่ยงคำพูดที่รุนแรงที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยนั้นจะรู้สึกเสียใจ แต่ให้เรานั้นลองเสนอมุมมองที่แตกต่างกันในการดูแล เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยนั้นยอมรับในมุมมอง และ มีความรู้สึกที่อยากจะใช้ชีวิต ต่อไป โดยที่ไม่มองโลกในแง่ร้าย และ ไม่รู้สึกว่า “ตัวเองเป็นภาระ” คนอื่น   

ญาติผู้ป่วยคนอื่น ๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนเป็นพัก ๆ  

อีกเรื่องที่สำคัญอย่างมากเลยนั้นคือในเรื่องของ ญาติของผู้ป่วยนั้น ที่ไม่ใช่คนที่ดูแลนั้นควรที่จะเข้ามาเยี่ยมเยียนเป็นพัก ๆ บ้าง เพื่อให้ผู้ป่วยนั้นรู้สึกถึงสายใยครอบครัวที่ดี และ ทำให้ผู้ป่วยนั้นมีความรู้สึกว่าเป็นครอบครัวที่ดี  และทำให้ผู้ป่วยนั้นรู้สึกว่า ชีวิตไม่ได้มีแค่ตัวเขาคนเดียว  

พยายามทำให้ผู้ป่วยนั้นมีส่วนร่วมที่หลากหลาย  

เช่นการพูดคุย การขยับร่างกายเพียงเล็กน้อย หรือ ในการทำกิจกรรมอื่น ๆ นั้น เราควรที่จะให้ผู้ป่วยนั้นมีคส่วนร่วมเพื่อให้ผู้ป่วยนั้นไม่รู้สึกโดดเดียว และทำให้ผู้ป่วยนั้นมีความสนุก และ รู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับทุกคนยได้ แม้ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง  

ดังนั้นจะเห็นว่าในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่ามีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งหากว่าเรานั้นมองข้ามในเรื่องนี้ไปอาจจะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีสภาวะจิตใจที่ไม่มีความมั่นคง และ รู้สึกโดดเดียวได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราควรที่จะพยายามเข้าใจผู้ป่วย และ ทำให้ผู้ป่วยนั้นไม่รู้สึกโดดเดี่ยวด้วยเช่นกัน  

Tags: